ย้ายบ้านใหม่ครับ ตามมาที่ www.pencil2pens.com
วันนี้ผมมีปากกาอีกด้ามหนึ่งที่นักสะสมต้องมีเก็บไว้ ปากกาที่ใช้ใน Apollo 7
พอผมจั่วหัวแบบนี้ ทุกคนต้องร้อง Oh my goodness พระเจ้าช่วยกล้วยทอด น่าเก็บจริงๆแต่ เดี๋ยวก่อนแล้วราคาละน่าจะแพงใช้มะ ถ้าผมบอกว่าแค่ 2,000 บาท หรือ 58 เหรียญ ทุกคนจะหาว่าโม้แต่เป็นเรื่องจริง น่าสนใจไหมละตามผมมา
AG7 original model |
ปากการุ่นที่ว่านี้ ชื่อ ว่า AG7 ผลิตโดยบริษัท Fisher Space pen กดที่นี่ครับ เพื่อที่จะตามไปดูที่ web site ได้เลยครับ ถามว่าผมเคยมีไหมตอบเคยมี แต่ทำหายตอนกลับมาจากอเมริกา งานสวยใช้ได้ตัวปากกาทำจากทองเหลืองแล้วชุบโครเมี่ยมอีกที ว่าจะสั่งใหม่อยู่ใครอยากได้เดี๋ยวร่วมกันสั่งด้วยกันครับ
ปากกานี้เกิดจากการที่ เจ้าของชื่อ Paul Fisher ได้เริ่มผลิตไส้ปากกาแบบ Ball pen ออกขาย แต่ปัญหาคือ ไส้ปากกามีหลายขนาดทำให้เจ้าของร้านต้องเก็บสต้อกไว้หลายขนาด รวมทั้งขนาดหัวปากกาก็มีหลายขนาดด้วย ในปี 1953 Paul ได้ผลิตไส้ปากกาที่สามารถตัดความยาวออกได้ และได้เป็นที่นิยมอย่าแพร่หลาย มีตัวตัดไส้ปากกาแถมมาให้ด้วยในแต่ละpackageนะครับ
ไส้ปากกาที่สามารถใช้กับปากกาได้หลายขนาด |
ต่อมา Paul ก็ไม่ได้หยุดพัฒนา เค้าได้พัฒนาหมึกที่ชื่อว่า Thixotropic ink อาจจะดูเทคนิคหน่อยๆ ใครจบวิทยาศาสตร์แบบผมจะอธิบายแบบง่ายหรือแบบยากๆก็ได้ หมึกที่ว่านี้เป็นสารแบบกึ่งของเหลวจะมีลักษณะที่ข้นเหนียวเมื่อไม่มีแรงมากระทำ แต่เมื่อเขย่าหรือสั่นหมึกก็จะเหลวขึ้นและไหลได้ง่ายขึ้น เอาแบบอธิบายง่ายๆละกันเคยได้ยินโฆษณา "แม่ๆเทซอสมะเขือเทศไฮนซ์ให้หน่อยครับ"ไหมแบบเดียวกันตอนแรกเทมะเขือเทศจะไม่ไหลออกมาเพราะเหนียวมาก แต่หลังจากเขย่าหรือเคาะเค้าความเหนียวจะน้อยลงและไหลง่ายขึ้น
ไปซะไกลเลยกลับมาเข้าเรื่องเรื่องกันดีกว่า ที่ต้องทำหมึกแบบนี้ข้อดีคือ หมึกไม่เลอะหรือเยิ้มออกมา แต่ปัญหาคือหมึกก็ไหลไม่คล่องด้วย ตาPaulเลยบอกว่าต้องอัดแก๊สเข้าไปเพื่อดันหมึกให้ไหลออกมา เค้าเลยใช้ หัว Ball ทำหัวปากกา เมื่อเรากดลูกBallที่หัวปากกา หมึกก็จะถูกแรงกระทำ ทำให้หมึกเหลวขึ้นและไหลได้สะดวกขึ้นด้วย แจ๋วไหมละ ลองมาดูภาพหลักการข้างล่างหน่อยนะครับ ใครแปลได้ก็อ่านละกัน ใครแปลไม่ได้ก็ดูรูปเอา ก็ผมก็อธิบายไว้ข้างบนแล้ว จะAECกันอยู่แล้วต้องฝึกฝนนะครับ 555
สุดท้ายตา Paul ได้ใช้ก้าชไนโตรเจนครับ เพราะเป็นแก๊สเฉื่อย ไม่ทำปฎิกิริยากับโลหะรวมทั้งหมึกด้วยทำให้หมึกสามมารถอยู่ได้นานกว่า 100 ปี แบบตายไปแล้วเกิดมายังใช้ต่อได้อีก555
ปากกานี้สามารถใช้ได้ที่อุณหภูมิ -30 F - 250 F คือสามารถใช้กับอุณหภูมิหนาวจัด จนร้อนจัด แบบไม่มีปัญหา แล้วที่สำคัญยังเขียนได้แม้ปราศจากแรงโน้มถ่วงด้วยครับ หรือเขียนในน้ำก็ได้ครับ ถ้ากระดาษไม่ขาดซะก่อน จะนั่งเขียนนอนเขียนตีลังกาเขียนก็ไม่มีปัญหาจริงๆนะ!
ขณะนั้นสหรัฐอเมริกากำลังทดลองทำปากกาที่ใช้ในอวกาศที่ปราศจากแรงโน้มถ่วงเพราะหมึกไม่สามารถไหลในอวกาศที่ปราศจากแรงโน้มถ่วงได้นะครับ โดยสหรัฐใช้เงินประมาณ หนึ่งแสนเหรีญในการวิจัยแต่ก็ไม่สำเร็จ ซึ่งตอนนั้นยาน Murcury กับ Gemini ยังใช้ดินสออยู่ สุดท้ายบริษัท Fisher Space pen ก็ได้ผลิตและจดสิทธิบัตรสำเร็จในปี 1965 ก็คือรปากการุ่น Anti Gravity pen รุ่น AG7 by Paul Fisher หลังจากนั้น นาซ่าก็ได้ นำไปทดลองแล้วได้นำมาใช้ในยาน อวกาศ Apollo 7 ในปี 1968 หลังจาก Paul ได้จดสิทธิบัตรมาสองปี
Paul ใช้เงินลงทุนไปทั้งหมด1ล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนาปากกาที่เขียนได้ในที่ไร้แรงโน้มถ่วง แล้วNASA ได้สั่งปากกาจาก Pual จำนวน 400 ด้ามในปี 1967 ที่ราคา 2.95 ดอลลาร์ต่อด้าม คุ้มไหมเนี่ยกับเงินที่ลงทุนอะ
Paul ใช้เงินลงทุนไปทั้งหมด1ล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนาปากกาที่เขียนได้ในที่ไร้แรงโน้มถ่วง แล้วNASA ได้สั่งปากกาจาก Pual จำนวน 400 ด้ามในปี 1967 ที่ราคา 2.95 ดอลลาร์ต่อด้าม คุ้มไหมเนี่ยกับเงินที่ลงทุนอะ
เข้าไปดู ใน Fisher Space pen มีหลายรุ่นให้เลือกครับ แต่จะให้ได้กลิ่นไอแท้ๆก็ต้อง รุ่น AG 7 รุ่นเดียวเท่านั้น คลิกเลยครับ
ผมขอสรุปอีกทีนะครับข้อดีของปากกานี้ครับจากการค้นคว่ามาเพิ่มเติมนะครับ
1.สามารถใช้ในภาวะที่หนาวจัดจนถึงร้อนจัดได้โดยไม่มีปัญหา ปกติถ้าหนาวจัดปากกาจะเขียนไม่ออกหมึกจะแข็งตัว
2.เค้ามีการทดลองไปเขียนในกระดาษที่เปียกน้ำ ทำได้ดีกว่าปากกาทั่วไป เพราะมีแรงดันทำให้หมึกไหลออกสม่ำเสมอ
3. มีการทดลองเขียนในกระดาษที่จุ่มน้ำมันพืช ก็ยังเขียนได้ดีอยู่
4.สำหรับคนที่เขียนแบบปากกาอยู่ในแนวนอนหรือหัวปากกาชี้ขึ้นฟ้าแบบไม่ต้องอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกหมึกก็ไหลได้ดี เช่นสมมุติแบบตลกๆนะครับกำลังปีนเขาอยู่อยากจะจดบันทึกอะไรขึ้นมาไม่มีกระดาษรองจะกดปากกาแรงๆก็ไม่ได้แล้วตัวเรายังขนานกับพื้นอีกเวลาเขียนหัวปากกายังชี้ฟ้าอีกนะครับ555
5. ลองคิดดูเล่นๆแล้วเอาไปประยกต์ดูนะครับ...
ผมขอสรุปอีกทีนะครับข้อดีของปากกานี้ครับจากการค้นคว่ามาเพิ่มเติมนะครับ
1.สามารถใช้ในภาวะที่หนาวจัดจนถึงร้อนจัดได้โดยไม่มีปัญหา ปกติถ้าหนาวจัดปากกาจะเขียนไม่ออกหมึกจะแข็งตัว
2.เค้ามีการทดลองไปเขียนในกระดาษที่เปียกน้ำ ทำได้ดีกว่าปากกาทั่วไป เพราะมีแรงดันทำให้หมึกไหลออกสม่ำเสมอ
3. มีการทดลองเขียนในกระดาษที่จุ่มน้ำมันพืช ก็ยังเขียนได้ดีอยู่
4.สำหรับคนที่เขียนแบบปากกาอยู่ในแนวนอนหรือหัวปากกาชี้ขึ้นฟ้าแบบไม่ต้องอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกหมึกก็ไหลได้ดี เช่นสมมุติแบบตลกๆนะครับกำลังปีนเขาอยู่อยากจะจดบันทึกอะไรขึ้นมาไม่มีกระดาษรองจะกดปากกาแรงๆก็ไม่ได้แล้วตัวเรายังขนานกับพื้นอีกเวลาเขียนหัวปากกายังชี้ฟ้าอีกนะครับ555
5. ลองคิดดูเล่นๆแล้วเอาไปประยกต์ดูนะครับ...
ถ้ายังไม่อยากซื้อก็มีแบบแก้ขัดไปก่อน พอจะมีปากกา Parker ไหมถ้าไม่มีก็ไม่ต้องมาคุยกันผมโกรธจริงๆนะจะเป็นคนสะสมดินสอกับปากกาทั้งที ไม่ให้ผมบ่นได้ไง ล้อเล่นนะครับ ถ้ามีปากกาParker เค้าก็มีไส้ปากกาแบบ Space penที่เขียนได้บนอวกาศ ก็เหมือนได้ไปเหยียบดวงจันทน์แบบครึ่งตัวละ ราคาแค่ 6 ดอลลาร์เอง
ไส้ปากกาที่สามารถใช้กับปากกา Parker ได้ครับ |
ช้าก่อนก่อนจะจบ จะจบแบบนี้ก็ไม่ใช่ผมสิ เดี๋ยวตอนหน้าผมจะมาเขียนเรื่องตำนานที่สหรัฐกับรัสเซีย เกี่ยวกับดินสอกับปากกาที่สหรัฐลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อผลิตปากกาที่ใช้ในอวากาศที่ไม่มีแรงโน้มถ่วงแต่รัสเซียกับแก้ปัญหาโดยใช้ดินสอ เรื่องราคาที่ทำการวิจัยก็ผิดแล้วตามที่ผมเขียนข้างบน แล้ว เรื่องจริงเป็นยังไงละ ตามอ่านฉบับหน้านะตัวเอง555 คลิกที่นี่ครับ
รุ่นพิเศษครบรอบปีต่างๆ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น