วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการผลิตดินสอ

ย้ายบ้านใหม่ครับ ตามมาที่ www.pencil2pens.com

ขั้นตอนการผลิตไส้ดินสอ และดินสอ

แกรไฟต์เป็นธาตุคาร์บอนในรูปแบบหนึ่ง คล้ายกับเพชรและถ่าน และสามารถมาใช้อุปกรณ์เบรครถยนต์ อุสาหกรรมเหล็กกล้าและแบตเตอร์รี่ โครงสร้างของแกรไฟต์จะอ่อนและไม่แข็งแรงนักและสามารถหลุดลอกได้ง่าย มีโครงสร้างเป็นเกล็ดบางซ้อนกันเป็นเป็นชั้นๆ เกาะกันอย่างหลวมๆ เวลาเขียน แกรไฟต์ชั้นบางๆ จะหลุดร่อน และลอกติดไปบนพื้นผิววัสดุทำให้เกิดรอยสีดำขึ้นแกรไฟต์ไม่สามารถผลิตได้และได้มาจากการทำเหมืองเป็นต้น ปกติการทำเหมืองต้องมีเปอร์เซ็นต์
แกรไฟต์ประมาณ30%จึงจะคุ้มที่จะทำการขุดเจอะเป็นต้นเรามาดูวิธีการทำไส้ดินสองจากYou Tube กัน



ในการทำไส้ดินสอนั้น จะเริ่มจากการนำผงแกรไฟต์ที่บดละเอียด มาผสมรวมกับดินขาว และน้ำ แต่ถ้าเป็นดินสอสีก็จะผมสีลงไปด้วยครับ ต่อจากนั้น นำไปอัดเป็นแท่งขนาดใหญ่ก่อนแล้วให้ความร้อนที่ 160 องศาเซลเซียส เพื่อไล่ความชื้นออก หลังจากนั้นไปอัดผ่านหัวอัดให้มีขนาดไส้ตามเส้นผ่านศูนย์กลางตามความต้องการ ไส้ที่ได้ออกมาเป็นแท่งยาว ก่อนนำไปเผาที่อุณหภูมิประมาณ 1,000- 1,200 องศาเซลเซียส จากนั้นจึงนำไปตัดและเคลือบด้วยขี้ผึ้ง ซึ่งทำให้ไส้ดินสอเรียบและมัน ทำให้เขียนได้ลื่น และสุดท้ายการประกอบเป็นแท่งดินสอ ก็จะใช้กาวผนึกให้ติดแน่นกับปลอกไม้ที่ใช้หุ้ม โดยไม้ที่นำมาใช้ต้องเป็นไม้เนื้ออ่อนพอควร เพื่อทำให้เหลาง่าย ส่วนใหญ่จะเป็น ไม้ซีดาห์ ซึ่งปกติเอามาใช้ในการทำ เฟอร์นิเจอร์ได้ เป็นต้น
                   

ตัว H กับ ตัว Bในดินสอหมายถึง (คัดลอกจากผู้จัดการออนไลน์)

ผู้อ่านหลายๆอาจจะยังพอคุ้นหูอยู่บ้างว่าไส้ของดินสอนั้นทำมาจากแกรไฟต์แต่ถ้าลงลึกไปในราละเอียด แล้วแกรไฟต์ไม่ใช่ส่วนผสมเดียวของไส้ดินสอ แต่ยังมีผงดินเหนียวและน้ำรวมอยู่ด้วย หรือถ้าเป็นดินสอสีก็จะมีเม็ดสีเป็นอีกส่วนผสมหนึ่ง ซึ่งสัดส่วนของแกรไฟต์และดินเหนียวที่ใช้มีความสำคัญกับคุณภาพของดินสอที่ได้ กล่าวคือ ยิ่งผสมดินเหนียวมากขึ้นเท่าไร ไส้ดินสอที่ได้ก็จะแข็งขึ้นและสีอ่อนลงเท่านั้น ส่วนการที่จะเขียนติดกระดาษดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับ ส่วนผสมของขี้ผึ้งที่เคลือบบนไส้ดินสอด้วยครับ เคยรู้ ไหมครับถ้าเราไม่เคลือบด้วยขี้ผึ้งดินสอจะเขียนไม่ติด  
  






ส่วนสัญลักษณ์ 2B ที่พวกเราคุ้นเคยกันนั้น เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของดินสอตามระบบแบบยุโรป ซึ่งจะวัดระดับของไส้ดินสอตาม H (Hardness) คือ ความแข็ง และ B (Blackness) คือ ความดำ รวมทั้ง F (Fine point) คือ ความละเอียดของเนื้อดินสอด้วยครับ ส่วนตัว
 F เราจะไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไรนอกจากเป็นงานวาดภาพที่ต้องการเนื่อสีที่ละเอียด
     

มาตรฐานดินสอที่ใช้เขียนกันทั่วไปอยู่ในระดับ HB ส่วนดินสอสำหรับระบายกระดาษคอมพิวเตอร์ ต้องใช้ความเข้มระดับ 2B ขึ้นไป   
    

ทั้งนี้ ดินสอที่ผลิตอยู่ในท้องตลาดมีตั้งแต่ 9H ซึ่งมีไส้ดินสอที่แข็งที่สุดแต่ให้สีอ่อนที่สุด ไล่ไปที่ 8H, 7H, 6H, 5H, 4H, 3H, 2H, H, F และ HB ซึ่งเป็นดินสอระดับมาตรฐานสำหรับงานเขียน ไปจนถึงระดับ B, 2B, 3B, 4B, 5B, 6B, 7B, 8B และ 9B ซึ่งเป็นดินสอที่มีไส้อ่อนที่สุดแต่ก็สีดำที่สุด 
      

สรุปตามคำถามได้ว่า ดินสอที่มีตัว H มากจะยิ่งให้สีอ่อนลงเรื่อยๆ ในทางตรงข้าม ดินสอที่มีตัว B มากจะยิ่งมีสีเข้มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยดินสอที่มีความเข้มมากจะใช้ในการแรเงา ส่วนดินสอที่มีความเข้มน้อยจะใช้ในการร่างภาพ  

อย่างไรก็ตามตามกฏเกณฑ์ ความเข้มอ่อนของไส้ดินสอของแต่ละผู้ผลิตก็ไม่เหมือนกันเพราะไม่มีมาตรฐานตายตัว ตัวอย่างเช่น ดินสอ 2B ของบริษัท ก กับ บริษัท ข ความเข้มของสีก็ไม่เท่ากัน
     

นอกจากเกณฑ์การวัดระดับไส้ดินสอตามระบบยุโรปแล้ว ยังมีระบบตัวเลขที่ใช้กันในอเมริกา โดยดินสอเบอร์ 1= B, ดินสอเบอร์ 2 = HB, ดินสอเบอร์ 2 1/2 = F, ดินสอเบอร์ 3 = H และดินสอเบอร์ 4 = 2H













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น